แมลงเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์
มนุษย์กินแมลงเป็นอาหารมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีอาหารอย่างอื่นอีกมากมายหลายชนิดที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา
แต่ก็ยังมีชนพื้นเมืองแถบต่างๆ เกือบทั่วโลกที่กินแมลงเป็นอาหาร ตัวแมลงนั้นมีปริมาณไขมัน
และโปรตีนสูงมาก
ในบางแห่งใช้แมลงเป็นโปรตีนเสริมในอาหารให้กับเด็กที่เป็นโรคขาดธาตุโปรตีน
ชนพื้นเมืองในอัฟริกากินมด กินปลวก หนอนด้วง หนอนผีเสื้อ
และตั๊กแตนเป็นอาหารหลักที่ให้โปรตีน ในบางประเทศมีการนำแมลงมาทำเป็นอาหารกระป๋องออกจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับประเทศไทย
แมลงหลายชนิดได้กลายเป็นอาหารอันโอชะ ซึ่งมีขายกันเป็นปกติในตลาดทั้งสดๆ
และทำสำเร็จรูป เช่น ตั๊กแตนมีทั้งที่ขายสดๆ และที่ทอดกรอบแล้ว
แมลงที่เป็นอาหารของชาวบ้าน
จากการศึกษาทางมานุษวิทยาโภชนาการในครั้งนี้
พบว่าแมลงที่ชาวบ้านนำมาบริโภคมีทั้งสิ้น 44 ชนิด
ซึ่งแต่ละชนิดมีแหล่งที่อยู่ วิธีการไล่ล่า และรูปแบบการปรุงอาหารที่แตกต่างกันไป
ในส่วนนี้จะอธิบายในรายละเอียดของแมลงแต่ละชนิดตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะที่อยู่ รูปแบบวิธีการไล่ล่า
สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการไล่ล่าเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด
และการนำแมลงมาปรุงอาหาร
การเข้าศึกษาในพื้นที่
ทำให้ทราบว่าการที่จะมีแมลงที่มีความอร่อย ลำตัวสมบูรณ์ มีความมัน
และบริโภคได้คราวละมากๆ ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาล
แมลงที่ชาวบ้านนิยมบริโภค
ผู้ศึกษาได้จัดแบ่งแมลงออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ 3 ประเภท
ตามแหล่งที่อยู่อาศัย ได้แก่ แมลงที่อาศัยอยู่ในน้ำ แมลงที่อาศัยอยู่ใต้ดิน
และแมลงที่อยู่บนต้นไม้
เพื่อความสะดวกและร้อยเรียงเป็นเนื้อหาเดียวกันในการอธิบายรูปแบบวิธีการไล่ล่า
เนื่องจากแมลงที่มีที่อาศัยเดียวกันจะมีวิธีการไล่ล่าที่คล้ายคลึงกัน
คุณค่าทางโภชนาการทีได้จากการบริโภคแมลง
อาหารทุกประเภท
ย่อมมีคุณค่าและสารอาหารในตัวเองเมื่อมนุษย์รับประทานอาหารเข้าไป
คุณค่าและคุณประโยชน์เหล่านั้นจะแสดงออกในรูปของพลังงานและสารอาหารที่ได้รับ ตาราง
เปรียบเทียบคุณค่าอาหารของแมลงและเนื้อสัตว์ต่างๆ ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
แมลง
|
โปรตีน
(
กรัม )
|
พลังงาน
(
กิโลแคลอรี่ )
|
แมลงกระชอน
|
15.4
|
125.1
|
แมลงกินูน
|
13.4
|
77.8
|
แมลงกุดจี่
|
17.2
|
108.3
|
จิโปม
|
12.8
|
112.9
|
จิ้งหรีด
|
12.9
|
121.5
|
แมลงดานา
|
19.8
|
162.3
|
ดักแด้ไหม
|
9.6
|
98.0
|
ตั๊กแตนเล็ก
|
20.6
|
152.9
|
ตั๊กแตนใหญ่
|
14.3
|
95.7
|
แมลงตับเต่า
|
21.0
|
149.1
|
มดแดง
|
13.9
|
98.7
|
ตัวเป้ง
|
12.7
|
182.9
|
ไข่มดแดง
|
7.0
|
82.8
|
เนื้อไก่
(ขา)
|
20.6
|
130
|
เนื้อไก่
(อก)
|
23.4
|
117
|
เนื้อวัว
|
21.5
|
160
|
เนื้อหมู
|
19.5
|
170
|
ปลาร้า
|
14.15
|
145
|
ปลาดุก
|
23.0
|
176
|
ไข่ไก่
|
12.7
|
145
|
เครื่องปรุงต่างๆ
ที่ใส่ในอาหารแต่ละประเภท
เป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่สามารถเพิ่มสารอาหารให้แก่ชาวบ้าน
เนื่องจากการปรุงในแต่ละประเภทแบบมีเครื่องปรุงในแต่ละประเภทแบบมีเครื่องปรุงเพื่อเพิ่มรสชาติแตกต่างกันไป
สารอาหารและคุณประโยชน์ของเครื่องปรุงต่างๆ
มาจากพืชผักพื้นเมืองที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งมีคุณค่าทางสมนุไพรอยู่ไม่น้อย
อันตรายที่อาจเกิดจากการบริโภคแมลง
จากการปรุงอาหารแมลงในแต่ละประเภท
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การบริโภคสุก
และการบริโภคสด รูปแบบการบริโภคทั้ง 2
ประเภทนี้มีความเสี่ยงอยู่บ้างกับอันตรายที่อาจขึ้นกับสุขภาพ
วิธีปรุงอาหารแมลง
ในอดีต
คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมการกินแมลงมาก่อน
วิธีการปรุงไม่ได้แตกต่างจากอาหารพื้นบ้านรายการอื่นๆ แต่อย่างใด
วิธีปรุงอาหารแมลงได้แก่
ยำ (เช่น ไข่มดแดง) ห่อหมก อู๋ (วิธีการปรุงอาหารชนิดหนึ่งของภาคอีสานที่ปรุงด้วยเครื่องแกง
มีน้ำขลุกขลิก ซึ่งอาจปรุงด้วยลูกอ๊อดหรือปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น) น้ำพริก
(แจ่วหรือป่น) นึ่ง ลวก แกง (เช่น แกงผักหวานใส่ไข่มดแดงหรือใส่แมงกินูน ฯลฯ) ปิ้ง-ย่าง (เช่น จั๊กจั่น แมงดานา) และคั่ว (เช่น แมงกินูน)
ปัจจุบัน ตำหรับอาหารแมลงสนองตอบคนในเขตเมืองมากขึ้น
วิธีปรุงนอกจากมีรูปแบบพื้นบ้านแล้วอาจจะมีวิธีปรุงในรูป ผัด ทอด (เช่น
ไข่เจียวใส่ไข่มดแดง ไข่เจียวใส่ตัวอ่อนแมลงปอ) ชุบแป้งทอด
ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะสมมารถหากินอาหารแมลงที่ปรุงตามตำหรับสากลเช่น เบอร์เกอร์
แซนด์วิช และพิซซ่าที่ใช้หนอนไม้ไผ่หรือหนอนไหม
อาหารเหล่านี้จะพบเห็นในย่านที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น ภัตตาคาร แถบตลาด
อตก. ถนนข้าวสาร พัฒน์พงษ์ สวนลุมไนท์บาร์ซ่า ภัตตาคาร
ในจังหวัดท่องเที่ยวทางภาคเหนือและอีสาน
ใครบ้างที่กินอาหารแมลง
ที่ผ่านมาอาหารแมลงเป็นอาหารของกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยอาศัยอยู่ในชนบท
แต่ปัจจุบันพบเห็น
ตำหรับอาหารแมลงทั้งที่ปรุงแบบพื้นเมือง (เช่น น้ำพริก แกง ฯลฯ)
ปรุงแบบอาหารในเขตเมือง (ผัด ทอด ชุปแป้งทอด) และแบบตะวันตก (เบอร์เกอร์ แซนด์วิช
พิซซ่า) สภาพเช่นนี้ก่อให้เกิดแนวความคิดได้ว่าปัจจุบันอาหารแมลงเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
ปี พ.ศ. 2548
ผู้เขียนและกัณวีร์ วิวัฒน์พานิช ร่วมกันสำรวจ
พบว่าผู้ที่กินอาหารแมลงสามารถแบ่งได้เป้น 4 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 คนไทยในภาคเหนือและภาคอีสานทั้งที่อาศัยอยู่พื้นราบ ชาวเขา
หรือย้ายถิ่นไปอยู่ที่จังหวัดอื่นๆ
กลุ่มที่ 2 คนไทยที่ย้ายถิ่นออกจากภาคเหนือและภาคอีสานแล้วไปสร้างครอบครัวในจังหวัดออื่นๆ
คู่สมรสที่มีพื้นเพเดิมมาจากจังหวัดที่ไม่เคยกินอาหารแมลงมาก่อน
เมื่อได้ลิ้มรสอาหารแมลงแล้วมักจะยอมรับในรสชาติ
แล้วหันมายอมรับอาหารแมลงได้ในที่สุด
กลุ่มที่ 3 คนไทยที่มีพื้นเพเกดิมมาจากท้องถิ่นที่ไม่เคยกินอาหารแมลงมาก่อน
แต่ได้พบเห็นว่าอาหารแมลงมาก่อน
แต่ได้พบเห็นอาหารแมลงที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปจนชินตา บางคนที่มีนิสัยชอบทดลอง
แม้ว่ารูปลักษณ์ของแมลงจะไม่น่าดูนัก แต่เมื่อได้ทดลองชิมก็มักจะติดใจรสชาติ
แล้วก็เกิดอาการยอมรับอาหารแมลงในที่สุด
กลุ่มที่ 4 นักท่องเที่ยวต่างชาติ ปกติคนกลุ่มนี้มักจะนิยมอาหารไทยอยู่แล้ว ดังนั้น
จึงไม่ยากที่จะติดใจในรสชาติอาหารแมลง
บางรายมีความคุ้นเคยกับอาหารแมลงมาก่อนอยู่แล้ว ในบรรยากาศของการท่องเที่ยว
แมลงทอดจะไปได้ดีกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรายที่ยังนิยมเบอร์เกอร์หรือแซนด์วิชหนอนไม้ไผ่และพิซซ่าหนอนไหม
ก็เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้พวกเขาคลายจาก “อาการคิดถึงบ้าน”
ได้
แมลงกินได้มีจำหน่ายที่ไหนบ้าง
การที่อาหารแมลงเป็นที่ยอมรับของผู้คนทั้งในเขตเมืองและชนบท
ธุรกิจด้านอาหารแมลงจึงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ
จากการติดตามเส้นทางการค้าของแมลงกินได้
พบว่า ปัจจุบันการเก็บหาแมลงในพื้นที่เกาตรกรรมที่เคยเป็นพื้นที่ระบาดของแมลงกินได้มีน้อยลง
เพราะเกษตรกรกำจัดปัญหาโดยการจับกินเป็นอาหารแล้วยังนำไปจำหน่ายในตลาดอีกด้วย
แล้วเหตุนี้จึงมีการนำเข้าแมลงจากประเทศเพื่อนบ้าน
เส้นทางที่สำคัญที่เป็นจุดนำเข้าแมลงคือตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ
จังหวัดสระแก้ว จากนั้นแมลงดิบจะนำเข้าไปจำหน่ายที่ตลาดของเมืองใหญ่ๆ เช่น
กรุงเทพฯ (ตลาดคลองเคย ตลาดเทเวศร์) ขอนแก่น พิษณุโลก ฯลฯ ต่อไป
นอกจากนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ปัจจุบัน
การทำฟาร์มแมลงกินได้เริ่มได้รับความสนใจ มีการส่งเสริม ทดลองเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งรายได้ของครอบครัวในพื้นที่ทางภาคอีสานและภาคเหนือ
บางฟาร์มเริ่มมีลูกค้าประจำมารับซื้อแมลงที่ยังมีชีวิต
เพื่อนำไปปรุงจำหน่ายในตลาดต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น