สรุปจากหนังสือ

                   แมลงที่เป็นอาหารของชาวบ้าน
จากการศึกษาทางมานุษวิทยาโภชนาการในครั้งนี้ พบว่าแมลงที่ชาวบ้านนำมาบริโภคมีทั้งสิ้น 44 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีแหล่งที่อยู่ วิธีการไล่ล่า และรูปแบบการปรุงอาหารที่แตกต่างกันไป ในส่วนนี้จะอธิบายในรายละเอียดของแมลงแต่ละชนิดตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะที่อยู่ รูปแบบวิธีการไล่ล่า สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการไล่ล่าเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด และการนำแมลงมาปรุงอาหาร
การเข้าศึกษาในพื้นที่ ทำให้ทราบว่าการที่จะมีแมลงที่มีความอร่อย ลำตัวสมบูรณ์ มีความมัน และบริโภคได้คราวละมากๆ ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาล
แมลงที่ชาวบ้านนิยมบริโภค ผู้ศึกษาได้จัดแบ่งแมลงออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ 3 ประเภท ตามแหล่งที่อยู่อาศัย ได้แก่ แมลงที่อาศัยอยู่ในน้ำ แมลงที่อาศัยอยู่ใต้ดิน และแมลงที่อยู่บนต้นไม้ เพื่อความสะดวกและร้อยเรียงเป็นเนื้อหาเดียวกันในการอธิบายรูปแบบวิธีการไล่ล่า เนื่องจากแมลงที่มีที่อาศัยเดียวกันจะมีวิธีการไล่ล่าที่คล้ายคลึงกัน


                คุณค่าทางโภชนาการทีได้จากการบริโภคแมลง
อาหารทุกประเภท ย่อมมีคุณค่าและสารอาหารในตัวเองเมื่อมนุษย์รับประทานอาหารเข้าไป คุณค่าและคุณประโยชน์เหล่านั้นจะแสดงออกในรูปของพลังงานและสารอาหารที่ได้รับ

เครื่องปรุงต่างๆ ที่ใส่ในอาหารแต่ละประเภท เป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่สามารถเพิ่มสารอาหารให้แก่ชาวบ้าน เนื่องจากการปรุงในแต่ละประเภทแบบมีเครื่องปรุงในแต่ละประเภทแบบมีเครื่องปรุงเพื่อเพิ่มรสชาติแตกต่างกันไป สารอาหารและคุณประโยชน์ของเครื่องปรุงต่างๆ มาจากพืชผักพื้นเมืองที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งมีคุณค่าทางสมนุไพรอยู่ไม่น้อย
                อันตรายที่อาจเกิดจากการบริโภคแมลง

จากการปรุงอาหารแมลงในแต่ละประเภท สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การบริโภคสุก และการบริโภคสด รูปแบบการบริโภคทั้ง 2 ประเภทนี้มีความเสี่ยงอยู่บ้างกับอันตรายที่อาจขึ้นกับสุขภาพ
                ใครบ้างที่กินอาหารแมลง
ที่ผ่านมาอาหารแมลงเป็นอาหารของกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยอาศัยอยู่ในชนบท แต่ปัจจุบันพบเห็น  ตำหรับอาหารแมลงทั้งที่ปรุงแบบพื้นเมือง (เช่น น้ำพริก แกง ฯลฯ) ปรุงแบบอาหารในเขตเมือง (ผัด ทอด ชุปแป้งทอด) และแบบตะวันตก (เบอร์เกอร์ แซนด์วิช พิซซ่า) สภาพเช่นนี้ก่อให้เกิดแนวความคิดได้ว่าปัจจุบันอาหารแมลงเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
ปี พ.ศ. 2548 ผู้เขียนและกัณวีร์ วิวัฒน์พานิช ร่วมกันสำรวจ พบว่าผู้ที่กินอาหารแมลงสามารถแบ่งได้เป้น 4 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 คนไทยในภาคเหนือและภาคอีสานทั้งที่อาศัยอยู่พื้นราบ ชาวเขา หรือย้ายถิ่นไปอยู่ที่จังหวัดอื่นๆ
กลุ่มที่ 2 คนไทยที่ย้ายถิ่นออกจากภาคเหนือและภาคอีสานแล้วไปสร้างครอบครัวในจังหวัดออื่นๆ คู่สมรสที่มีพื้นเพเดิมมาจากจังหวัดที่ไม่เคยกินอาหารแมลงมาก่อน เมื่อได้ลิ้มรสอาหารแมลงแล้วมักจะยอมรับในรสชาติ แล้วหันมายอมรับอาหารแมลงได้ในที่สุด
กลุ่มที่ 3 คนไทยที่มีพื้นเพเกดิมมาจากท้องถิ่นที่ไม่เคยกินอาหารแมลงมาก่อน แต่ได้พบเห็นว่าอาหารแมลงมาก่อน แต่ได้พบเห็นอาหารแมลงที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปจนชินตา บางคนที่มีนิสัยชอบทดลอง แม้ว่ารูปลักษณ์ของแมลงจะไม่น่าดูนัก แต่เมื่อได้ทดลองชิมก็มักจะติดใจรสชาติ แล้วก็เกิดอาการยอมรับอาหารแมลงในที่สุด

กลุ่มที่ 4 นักท่องเที่ยวต่างชาติ ปกติคนกลุ่มนี้มักจะนิยมอาหารไทยอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่ยากที่จะติดใจในรสชาติอาหารแมลง บางรายมีความคุ้นเคยกับอาหารแมลงมาก่อนอยู่แล้ว ในบรรยากาศของการท่องเที่ยว แมลงทอดจะไปได้ดีกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรายที่ยังนิยมเบอร์เกอร์หรือแซนด์วิชหนอนไม้ไผ่และพิซซ่าหนอนไหม ก็เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้พวกเขาคลายจาก อาการคิดถึงบ้านได้


บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย

สถาบันการแพทย์แผนไทย.  แมลงอาหารมนุษย์ในอนาคต.  กรุงเทพมหานคร : องค์การสงเคราะห์
       ทหารผ่านศึก, 2542.

เบญจวรรณ อรุณสาธิต.  หมอชาวบ้าน.  กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน, 2551.

คณะผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อที่นำโดยแมลง.  โรคติดต่อที่นำโดยแมลง.  องค์การอนามัยโลก, 2532.


บรรณานุกรมข้อมูลออนไลน์

แมลงกินได้อร่อยมีคุณค่าแต่.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : doctor.or.th/article/detail/5748.
       (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน 2559).

โรคติดเชื้อจากแมลง.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  
        th.wikipedia.org/wiki/หมวดหมู่:โรคติดเชื้อจากแมลง.  (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน 2559).

แมลงอาหารแห่งอนาคต.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :
        komchadluek.net/detail/20130708/162813/'แมลง'อาหารแห่งอนาคต.  (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน  
        2559).





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น